Last updated: 25 Oct 2018 | 144770 Views |
สำคัญที่ว่าเราต้องรู้จำนวน วัตต์ (WATT) ขอเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราเท่านั้นเอง ซึ่งก็จะมีบอกอยู่ในสินค้าทุกชิ้นอยู่แล้ว
เพราะกำลังวัตต์คือสิ่งที่บอกเราว่า เราใช้กำลังไฟฟ้าไปมากน้อยแค่ไหน และเราต้องจ่ายค่าไฟเท่าไหร่
วัตต์ (WATT) คือ หน่วยวัดการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อ 1 ชั่วโมง ยิ่งวัตต์น้อย ยิ่งกินไฟน้อย ยิ่งวัตต์มากก็ยิ่งกินไฟมาก
ในบ้านเรา มีการคิดค่าไฟเป็นหน่วย “ยูนิต” โดยปัจจุบันมีอัตรา ยูนิต ละ 3.96 บาท ซึ่ง 1 ยูนิต = 1,000 วัตต์
เราลองมาคำนวนกันคร่าวๆกันดีกว่าว่า ถ้าเราเปิดไฟทิ่้งไว้ 1 วัน มันจะเปลืองค่าไฟแค่ไหน
ยกตัวอย่างเช่น ห้องของเราใช้ไฟ 6 ดวง เป็นหลอดไฟ 20W
เราออกจากบ้าน โดยเปิดไฟทิ้งไว้ ตั้งแต่เช้าถึงดึก ตีว่า 12 ชั่วโมง
เท่ากับ 20W x 12 (ชั่วโมง) x 6 (จำนวนหลอดไฟ) = 1,440 วัตต์
ปัดขึ้นเป็นประมาณ 1,500 วัตต์ หรือเท่ากับ 1.5 ยูนิต
เท่ากับเราลืมปิดไฟวันนี้ เราต้องจ่ายค่าไฟ 3.96 x 1.5 = 5.94 บาทนั่นเอง
อาจจะดูว่าเป็นจำนวนเงินไม่เยอะ แต่ถ้าเราลืมปิดทุกวัน 1 เดือน เราต้องจ่ายค่าไฟเพิ่ม 180 บาททีเดียว นี่ยังไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นอีก จะพัดลม ตู้เย็น เครื่องทำน้ำร้อน
ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดใช้ไฟกี่วัตต์ ลองดูข้อมูลด้านล่างประกอบได้เลยครับ
พัดลมตั้งพื้น 45-75 วัตต์
พัดลมเพดาน 70-104 วัตต์
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 500-1,000 วัตต์
เครื่องปิ้งขนมปัง 600-1,000 วัตต์
ไดร์เป่าผม 300-1,300 วัตต์
เตารีดไฟฟ้า 430-1,600 วัตต์
เครื่องทำน้ำอุ่น 900-4,800 วัตต์
เครื่องซักผ้า 250-2,000 วัตต์
ตู้เย็น (2-12 คิว) 53-194 วัตต์
แอร์ 680-3,300 วัตต์
เครื่องดูดฝุ่น 625-1,000 วัตต์
เตาไฟฟ้าแบบเดี่ยว 300-1,500 วัตต์
โทรทัศน์สี 43-95 วัตต์
เครื่องอบผ้า 650-2,500 วัตต์
ใครอยากประหยัดไฟ ประหยัดเงิน ก็เลือกซื้ออุปการณ์ไฟฟ้าที่มีค่าวัตต์ต่ำๆกันไว้ก่อนนะครับ
17 Oct 2019
26 Oct 2020
23 Sep 2019